โครงการพัฒนาอาชีพปากรอมูลนิธิฯ เผยชาวบ้านปรับตัวรับมือกับการระบาดของโควิด-19 หันมาดูแลสุขภาพทานอาหารสมุนไพรเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

คุณชาญวิทย์ รัตนชาติผู้จัดการทั่วไปโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ตำบลปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา สังกัดธุรกิจสัตว์น้ำจืด CPF ซึ่งปฏิบัติงานในภาระกิจพิเศษของมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทเปิดเผยถึงการรับมือกับภาวะการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลปากรอ อ.สิงหนคร จ.สงขลาว่าในฐานะที่มีสวนรับผิดชอบดูแลโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพในพื้นที่นี้ มองว่าในเรื่องของการรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เรื่องสำคัญเรื่องแรกเป็นเรื่องของแนวคิดซึ่งมีความสำคัญที่ว่าเมื่อมีอุปสรรคเกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้เป็นครั้งแรกที่ชุมชนจะพบกับปัญหาอุปสรรค เพียงแต่ว่าชาวบ้านหรือผู้นำชุมชนมี แนวคิดในการต่อสู้กับอุปสรรค เป็นแนวคิดเชิงบวกที่จะต่อสู้กับอุปสรรค ต้องไม่มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่จะหาทางออกไม่ได้ ถ้าเรากลัวตรงนี้ก็จะไม่ชนะเลย

“ในฐานะที่เป็นแกนนำของโครงการและแกนนำของชาวบ้าน ชุมชนอีกหลายคน รวมทั้งที่ปรึกษาเรา ไม่ว่าจะเป็นรพสต.กรมวิชาการเกษตร ก็มีการพูดคุยกันเพื่อหาทางออกตัวอย่างเช่นเรื่องของการดูแลสุขภาพ ซึ่งถ้าเราคิดว่าโรคโควิดนี้จะเป็นโรคประจำถิ่นในอนาคต ถ้าเรามีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ที่เกิดจากการพักผ่อนเพียงพอ การทานอาหารที่มีประโยชน์ การที่เราทำงานอยู่กลางแจ้งในภาคการเกษตรก็มีส่วนดีที่เราได้รับวิตามินดี ถ้าเราทำได้ครบคือกินอาหารดี มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอ มีวิตามินดีจากธรรมชาติก็สามารถที่จะสู้กับโควิดได้พอสมควร บวกกับการรักษาระยะห่าง การป้องกันโดยยกการ์ดสูง สวมหน้ากาก เราไม่เข้าใกล้ใครมากหรือกลับมาบ้านก็หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดก็สามารถช่วยได้ บางคนถึงขั้นเป็นผู้นำก็มีการกลั้วคอก็เป็นอีกขั้นหนึ่ง ก็จะทำให้การติด ไม่ติดโรคก็ยากอยู่ ก็สู้ได้ “

“อย่างผมก็เตรียมพร้อมมีการซื้อยาเป็นสมุนไพรมาเก็บไว้ สำรองไว้ ในกรณีที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ก็ทานพวกสมุนไพรช่วยให้เรามีภูมิต้านทานที่ดีระดับหนึ่ง โรคเข้ามาเราก็สู้ได้ ถ้าเราแข็งแรง หลายคนที่ติดกันเพราะมีคลัสเตอร์จากโรงงานในสงขลา ซึ่งคนในชุมชนก็มีการไปทำงานในโรงงาน มีการเดินทางไปรถรวมกัน เวลาติดก็ติดทั้งคันรถทำให้มีการติดโควิดกันเยอะก็กลับมาในชุมชน มีการกักตัวกัน ดังนั้นเวลาเราจะเข้าไปทำกิจกรรมอะไรกับคนในชุมชนก็ต้องไปแบบห่างๆ ใช้วิธีการตะโกนคุยกัน ไม่เข้าใกล้กัน และใช้แอลกอฮอลล์กันตลอดเวลา ทำให้ผมสามารถทำงานได้ตลอด ไม่ประมาทเตรียมความพร้อมตลอดเวลา เพราะทุกพื้นที่ก็มีความเสี่ยงเรื่องโควิดกัน” คุณชาญวิทย์กล่าวถึงมาตรการรับมือกับโควิด-19

คุณชาญวิทย์กล่าวอีกว่าประการถัดมาชุมชนไม่กลัว เพราะคนในชุมชนเป็นกันมาก พอเป็นแล้วการไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลไม่พอก็กลับมากักตัวในชุมชน โดยไม่มีการเสียชีวิต ก็มีการมาพูดคุยกับเราว่าตัวเค้าเองไม่มีตัวร้อน ไม่มีเสมหะ ไม่มีไข้ ก็มีการแนะนำว่าถึงอย่างไรก็ต้องทำตัวให้แข็งแรง มีแนวคิดที่จะท้าทายกับอุปสรรค แล้วก็เร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ก็คิดว่าน่าจะสู้กับโควิดได้

นอกจากนี้ก็พยายามแนะนำในเรื่องการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโควิดให้มีการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร หาพันธุ์กระชาย ฟ้าทะลายโจรและพัฒนาสร้างเป็นแคปซูลต่อไป ตอนนี้ก็กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อช่วยสังคมช่วยขายช่วยแบ่งปันให้คนอื่น เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส สอดรับกับความต้องการของสังคมในการตอบรับพืชสมุนไพรมากขึ้น คนไทยหันมามอง มาหัดทาน เราก็พยายามปรับวิธีคิดของคนในชุมชนเพื่อรับมือ ต่อสู้กับโควิด ให้แนวคิดชุมชนไม่ว่าจะเป็นภาวะแบบไหนเราก็ต้องพึ่งตนเองให้ได้ ถ้าเที่ยวไปกลัวตามกระแสก็จะขาดความเข้มแข็งสามารถอยู่รอดได้ นี่ก็เป็นแนวคิดที่ทางเราพยายามบอกกับคนในชุมชนในเรื่องของการพึ่งตนเอง

ในส่วนของสินค้าที่เรามีอยู่ พื้นที่ที่มีอยู่ในชุมชนยังมีพื้นที่ที่กว้าง สามารถผ่อนคลายได้ดีกว่าคนเมือง และเมื่อมีผลผลิตออกมาเราก็ดำเนินการเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องของออนไลน์ อย่างคอร์สเรียนออนไลน์ของทางซีพีออลล์ ทำให้เรียนรู้ในเรื่องของการส่งคุณค่าจากชุมชน ด้วยการรู้จักและกำหนดตัวตนของชุมชนหรือของศูนย์เรียนรู้หรือสวนเทพหยาหรือโครงการพัฒนาอาชีพปากรอของมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทเราก็มีการทำของเราก็แนะนำชุมชน เพื่อรู้จักคุณค่า อัตลักษณ์ ก่อนที่จะไปกำหนดกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าที่เราจะส่งมอบคุณค่าของชุมชน ของสิ่งต่างๆ ของโครงการต่างๆ อย่างศูนย์การเรียนรู้ที่ทำอยู่ที่เราเน้นเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นโคกหนองนาโมเดล

ตรงนี้ก็อาจจะเรียกภาพรวมของเราว่า เกษตรตามศาสตร์พระราชา เราจะส่งมอบตัวตนนี้ไปยังโรงเรียนทุกโรงของจังหวัดสงขลาหรือของทางภาคใต้ ชวนเยาวชนมาเรียนรู้เกษตรตามศาสตร์พระราชาหรือเป็นศูนย์สาธิต เราจะไปติดต่อท่านผู้ว่าราชการ เกษตรจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการเขตว่าเรามีสิ่งเหล่านี้อยู่โรงเรียนต่างๆ เยาวชนต่างๆสามารถจะมาเรียนรู้ศึกษาที่นี่

คุณชาญวิทย์กล่าวอีกว่า อย่างศูนย์เรียนรู้ที่ดำเนินการ ตอนที่เรายังไม่เห็นตัวตนของเราที่ชัดเจน คนเข้ามาศึกษาดูงาน วันนั้นเรายังรู้สึกว่าเราอาย เรายังไม่พร้อม โดยมีคน1,000-2,000คนติดต่อเข้ามาเอง โดยเรายังไม่ได้ทำงานเชิงรุกในเรื่องของการตลาดเป็นการติดต่อกันมาเอง ปากต่อปาก แต่เมื่อเราชัดเจนตัวเราเองก็กล้า พร้อมที่จะไปพบเขา โดยเรามีความชัดเจนในโปรแกรมการอบรมมากขึ้น และจะมีการปรับตัวในรูปของการเรียนทางออนไลน์ ได้ชวนสถาบันการศึกษาที่ตอบรับ

เช่นในส่วนของประมงติณสูลานนท์ โรงเรียนมหาวชิราวุธ หรือ มทร.ศรีวิชัย มอ.ทั้งหมดก็ตอบรับว่าจะเข้ามาช่วยกันขับเคลื่อน ตั้งแต่เรื่องของภาพลักษณ์ เรื่องของการสื่อสาร ตรงจุดนี้เองก็จะช่วยขยับขยายออกไป ก่อนที่จะมีการออนไลน์ อย่างโรงเลี้ยงแพะก็จะมีการสร้างให้ดูดีในสไตล์ของ มทร.ศรีวิชัย ที่ถนัดในแง่ของวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรม ในช่วง 3-4 เดือน ที่อยู่ในภาวะวิกฤตโควิดเราก็พยายาม เตรียมความพร้อม พอทุกอย่างเริ่มคลี่คลายก็คาดว่าจะพร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวหรือคนที่เดินเข้ามาและพร้อมที่จะออนไลน์ด้วย