โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่พัฒนาชีวิต

กว่าจะมาเป็นโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน เพื่อโภชนาการเด็กไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิถีชีวิตของเด็กๆในโรงเรียนชนบทที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารจำนวนไม่น้อยยังประสบปัญหาการเข้าถึงโภชนาการ อาหารที่มีคุณค่า

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันด้วยการสนับสนุนโรงเรียนในพื้นที่ชนบท ได้มีโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้โรงเรียนมีแหล่งอาหารประเภทโปรตีนให้เด็กๆได้รับคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและยังสามารถนำผลผลิตที่เหลือไปจำหน่ายสร้างรายได้จากชุมชนรวมทั้งเด็กๆยังได้ฝึกฝน เรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่สำหรับทำเป็นอาชีพ

เบื้องหลังการสร้างโรงเรือน
และเมื่อเร็วๆนี้มูลนิธิฯร่วมกับหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯและซีพีเอฟได้ส่งมอบโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ให้กับโรงเรียนบ้านทุ่งมน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และอีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านต่างแดน โรงเรียนโนนปอแดงวิทยา โรงเรียนโนนอุดมศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และโรงเรียนส้งเปือย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครซึ่งเบื้องหลังก่อนที่จะมีการส่งมอบโรงเรือนทุกครั้ง จะต้องมีการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและได้มาตรฐาน จะชวนไปดูเบื้องหลังการก่อสร้างกันที่ต้องผ่านกรรมวิธีที่หลากหลาย ตรวจสอบอย่างครบถ้วนตั้งแต่การสำรวจพื้นที่ การเตรียมพื้นที่การลงดิน ไปจนถึงการติดตั้งอุปกรณ์และระบบการเลี้ยง

สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสม
ก่อนการลงมือก่อสร้างโรงเรือนฯจะมีทีมงานซีพีเอฟลงสำรวจพื้นที่เพื่อตรวจเช็คสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมของที่ตั้งโรงเรือนที่ต้องอยู่ห่างจากบ้านคนและดูทิศทางลม เพราะกลิ่นของมูลไก่อาจจะไปรบกวนผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้

การสร้างโรงเรือน
เมื่อสำรวจพื้นที่ได้แล้วขั้นตอนตามมาก็จะเป็นการสร้างโรงเรือนที่จะต้องถูกหลักวิชาการ โรงเรือนมีโครงสร้าง แข็งแรงทนทาน อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ร้อนอบอ้าวเพื่อลดเชื้อโรคในโรงเรือน ทั้งนี้ถ้าโครงสร้างของโรงเรือนไม่ดี สุขภาพของไก่ก็จะไม่ดีไปด้วย

การปูพื้น/เทแกลบ
เมื่อโครงสร้างโรงเรือนเรียบร้อยก็จะมีการปูพื้นด้วยคอนกรีตเพราะจะช่วยในเรื่องของการทำความสะอาดให้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็จะเทแกลบเป็นแนวยาวเพื่อป้องกันความชื้น ควบคุมอุณหภูมิโรงเรือน

เมื่อสร้างโรงเรือนเสร็จแล้วการติดตั้งอุปกรณ์ ปรับปรุงทิวทัศน์ และบริเวณโดยรอบก็ต้องดำเนินการตลอดจนอุปกรณ์ที่จะต้องมีในโรงเรือน การใส่ใจและเลือกอย่างพิถีพิถัน

การติดตั้งกรงตับใส่ไก่
ขั้นตอนถัดมาก่อนเตรียมนำไก่เข้าโรงเรือนจะต้องเช็คอะไรหลายอย่างๆ ทั้งสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ต่างๆเพราะไก่อาจจะเกิดความเครียดได้ หากไม่คุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมนั้นๆ

การให้อาหาร
มื่อมีการนำไก่เข้าเลี้ยงแล้วไก่ทุกตัวจะต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอในแต่ละวัน

การดูแลทำความสะอาด
การดูแลทำความสะอาดโรงเรือนจำเป็นเป็นอย่างมากเพราะเป็นการช่วยให้ไก่มีภูมิต้านทานที่ดีและสุขภาพแข็งแรง

กระบวนการทั้งหมดนี้ทางโครงการฯจะให้ความสำคัญในเชิง Hardware แล้ว ในด้านSoftware ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้ในการเลี้ยงไก่ให้ได้ประสิทธิภาพ ทีมงานมูลนิธิฯและซีพีเอฟยังมีกระบวนการให้ความรู้กับโรงเรียนผ่านทางครูและนักเรียนที่ได้รับมอบหมายควบคู่กันไปด้วย

มูลนิธิฯ ซีพีเอฟรวมทั้งองค์กรร่วมสนับสนุนมุ่งหวังว่าโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันจะได้นำองค์ความรู้ไปบริหาร จัดการโรงเรือนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนเกิดผลผลิตไข่ไก่ที่มีคุณค่าโภชนาการสู่เด็กๆ ส่งเสริมเกิดการเรียนรู้และเป็นประโยชน์กับชุมชนความเป็นอยู่ของผู้คนในชนบท ช่วยพัฒนาชีวิตชนบทให้ดียิ่งขึ้น และสามรถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้โครงการเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ขอบคุณภาพจาก : Dares Suthirak
เรียบเรียงโดย : ลลิษา สองรักษ์ นศ. PIM คณะนิเทศศาสตร์ สาขา การสื่อสารองค์กรและแบรนด์