ศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนเกษตร มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทชวนเครือข่ายภาครัฐ เอกชนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาแนวทางร่วมมือสร้างอาชีพเยาวชน กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อสร้างความเข้มแข็งภาคชนบทไทย

สืบเนื่องจากคณะกรรมการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทมีมติให้มีการพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฝึกอบรมเยาวชนเกษตรห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้มีความทันสมัยและส่งเสริมการปลูกฝัง สร้างเยาวชนและกลุ่มเกตรกรในภาคชนบทให้เข้มแข็ง มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่มั่นคงยั่งยืน มูลนิธิฯจึงได้แสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในเครือซีพีและภายนอก อาทิ ธกส.โดย คุณมรกต พิธิรัคน์ อดีต รอง ผู้จัดการธกส. ผศ.จำนงค์ แรกพินิจ ผู้บริหารสถาบัน การเรียนรู้เพื่อปวงชน เพื่อพัฒนาเกษตร คุณเชษฐา แหล่ป้อง ผู้อำนวยการสำนักสินเชื่อผู้ประกอบการ ธกส.กรมส่งเสริมการเกษตร สถาบัน อาชีวะศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน รศ.ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ รศ.ดร.สัจจา บรรจงศิริ

รศ.ดร.สินีนุช ครุฑเมือง ผศ.ดร.พลสราญ สราญรมย์ ผอ.ภาณุ บุณยเกื้อกูล อดีตผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร ท่ีปรึกษาอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผอ.พรณรงค์ วรศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบัน อาชีวะศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณดุสิต สะดวก รองผู้อำนวยการสถาบันฯ คุณอภิมุข ศุภวิบูลย์ ผอ.สำนักยุทธศาสตร์และความร่วมมืออาชีวะศึกษา ได้มีการประชุมร่วมกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆดังกล่าวต่างเห็นด้วยกับจุดมุ่งหมายของมูลนิธิฯในการสร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้กับคนในภาคเกษตรโดยหน่วยงานดังกล่าวได้มีการหารือถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการเช่นกลุ่มเยาวชน กลุ่มเกษตรกรที่มูลนิธิฯเกี่ยวข้องกลุ่มลูกหลานเกษตรกรที่จะเชื่อมโยงกับกิจการที่เครือซีพีทำโครงการกับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มyoung smart farmer กลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการเกษตร ที่ธกส.มีโครงการอยู่กลุ่มนักเรียนอาชีวะที่สนใจประกอบอาชีพการเกษตร เพื่อร่วมกันจัดทำหลักสูตรหรือโปรแกรมการอบรมที่สอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ของการฝึกอบรมเพื่อไปกลุ่มเป้าหมายสู่การมีอาชีพอย่างแท้จริง

ทั้งอาชีพที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำของห่วงโซ่การผลิตของภาคเกษตร การสร้างเครือข่ายและกลไกความร่วมมือใหม่ระหว่างมูลนิธิฯ หน่วยงานในเครือซีพี หน่วยงานภาครัฐสถาบันการศึกษาทั้งด้านการฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติ การสอน การถ่ายทอดประสบการณ์ สื่อการเรียน การศึกษาดูงาน การฝึกงาน การหาแหล่งเงินทุน การตลาดการสร้างระบบEcosystem รองรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ เพื่อเป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนเพื่อสร้างโอกาส และอนาคตในการประกอบอาชีพของกลุ่มต่างๆในภาคเกษตรที่เป็นอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงตัวเองและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน มีการแบ่งปัน เป็นเครือข่ายที่ช่วยกันขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศก้าวสู่การเกษตร4.0

ทั้งนี้หน่วยงานที่มาหารือร่วมกับมูลนิธิฯมีแนวคิดร่วมกันในการปรับเปลี่ยนวิธีคิด(Mindset)ให้ผู้รับการฝึกอบรมรู้เป้าหมายชีวิต เป้าหมายอาชีพที่สามารถเลี้ยงตนเองและชุมชนได้ รู้จักการจัดการชีวิต รู้จักอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับตัวเองเข้าใจการทำเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รู้จักและมีทักษะการบริหารจัดการเกษตร สามารถใช้เทคโนโลยีเป็น โดยระหว่างการฝึกอบรมผู้รับการอบรมมีรายได้ระหว่างเรียน ได้ทดลอง ฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองเกิดความเข้าใจ มั่นใจในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเมื่อจบการฝึกอบรม รวมทั้งมีวิสัยทัศน์ คิดเป็น มองเห็นโอกาสและอนาคตของตัวเอง อีกทั้งมีจิตใจที่จะแบ่งปันและร่วมมือ ผนึกกำลังกันสร้างความเข้มแข็งกับชุมชนภาคเกษตร

ทั้งนี้สิ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ มูลนิธิฯและเครือข่ายภายนอก ภายในเครือซีพีจะต้องร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่จะเกิดกับกลุ่มเป้าหมาย การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรม การทำงาน ประสานความร่วมมือ การสนับสนุน การแชร์ทรัพยากร องค์ความรู้ เครือข่ายเข้ามาร่วมกัน โดยจะมีการตั้งเป็นคณะทำงานร่วมกันให้การดำเนินการออกมาเป็นรูปธรรมต่อไป