โครงการซีพีคืนสุขผู้สูงวัยในชนบทห่างไกล

ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
จากตัวเลขประชากรที่ป่วยติดบ้าน-ติดเตียงในประเทศไทย พบว่า ปี 2560 ไทยมีผู้ป่วยติดบ้าน 235,301 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 136,677 ราย และคาดการณ์อนาคตว่า ในปี 2580 ผู้ป่วยติดบ้านจะเพิ่มเป็น 526,228 ราย ผู้ป่วยติดเตียงเป็น 311,256 ราย และในปี 2590 ผู้ป่วยติดบ้านจะเพิ่มเป็น 727,103 ราย ผู้ป่วยติดเตียงเป็น 434,694 ราย และจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อประเทศ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ติดเตียง ติดบ้าน ติดสังคม ที่จะต้องได้รับการดูแลเยียวยาเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท จึงดำเนินโครงการซีพีคืนสุขผู้สูงวัยในชนบทที่ห่างไกล

วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกย่องและกตัญญูต่อผู้สูงอายุ สร้างสุขสมวัยและพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากของผู้สูงอายุที่ถูกลูกหลานทอดทิ้ง มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
3.เพื่อส่งเสริมให้เกิดจิตอาสาในการเป็นคนมีน้ำใจ รู้จักแบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือ และดูแลผู้สูงอายุหรือคนในชุมชน
4.เพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เป็นชุมชนที่มีความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ช่วยเหลือคนชุมชนด้วยกัน โดยมีมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทหนุนเสริมตามความเหมาะสม

เป้าหมาย
ผู้สูงวัยในพื้นที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดเชียงราย จำนวน 20 ราย โดยผู้สูงอายุต้องเป็นผู้มีอายุ 60 ปีขั้นไปที่ยากไร้ ไม่มีคนดูแล

หน่วยงานร่วมดำเนินการ/ร่วมเจตารมณ์
1 โรงเรียนผู้สูงวัยหัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงเรียนป่าแดงวิทยา
โครงการหมอน้อย
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

2 จังหวัดนครพนม
อบต
รพ.สต
มหาวิทยาลัยนครพนม
มูลนิธิศรีโคตรบูรณ์

ผลการดำเนินงาน
1.ผู้สูงอายุ จำนวน 14 ราย ได้รับการดูแล ไม่โดดเดี่ยว เดียวดาย
2.คุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยดีขึ้นที่ได้รับเงินสนับสนุนรายเดือนๆละ 2000 บาท ที่สามารถแบ่งปันความสุขทั้งทางการย คือได้ซื้ออาหารที่อร่อยที่อยากทาน แบ่ ปันความสุขทางใจ คือได้มีเงินทำบุญ
3.ได้แบ่งปันความช่วยเหลือไปยังลูก/หลานที่เป็นภาระที่ต้องดูแล
4.มีภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นทั้งในองคืกรและนอกองค์กร.

ผลการดำเนินงานในภาพรวม
ผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดนครพนม และ จังหวัดเชียงราย มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีคนมาเยื่ยมเยียน ไม่เหงา ได้รับประทานอาหารที่ตนต้องการ มีเงินซื้อของใช้ ที่จำเป็นต่อสุขภาพ มีเงินไปทำบุญ
ปัจจุบัน ผู้สูงวัยจำนวน 14 ราย เหลืออยู่ จำนวน 11 ราย เนื่องจาก
1 นางจำลอง อาจหาญ อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม ได้เข้ารับการบริการจากศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
2. นายลบ พ่อโคตร อ.วังยาง จ.นครพนม เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546
3. นางใหล อุตึง อ.หัวง้ม จ.เชียงราย เสียชีวิต เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563

จุดเด่น
ผู้สูงวัยที่ไร้คนดูแลได้รับการดูแลเอาใจใส่ และมีผู้มาเยี่ยมเยียน
มีเด็กนักเรียนจากโครงการหมอน้อยแวะเวียนมาเยี่ยมและช่วยทำความสะอาด