มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท แนะนำวิธีการปลูกต้นไม้ด่าง “บอนสี” อาชีพทางเลือกการสร้างงานสร้างอาชีพ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระแสความนิยม “ต้นไม้ด่าง” มาแรงมากในขณะนี้ จากการที่คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับการตกแต่งบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโรคระบาดโควิด-19 ที่ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านตามมาตรการต่างๆ ประกอบที่ผ่านมากับมีปัญหาฝุ่น PM 2.5 กระจายปกคลุมในหลายจังหวัด ทำให้หลายคนหันมาสนใจต้นไม้ฟอกมาอากาศภายในบ้านมากขึ้น อีกทั้งไม้ด่างยังเป็นที่นิยมเพราะมีลูกเล่นสีสันสวยงาม เมื่อนำไปวางประดับตกแต่ง ทำให้มีราคาแพงตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักล้านเลยดีเดียว!

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ในฐานะที่เป็นหน่วยงานช่วยเหลือเกษตรกร และพัฒนาด้านการเกษตร จึงมาแนะนำวิธีการขยายพันธุ์บอนสี ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ด่างชนิดหนึ่ง โดยรักษาแม่พันธุ์ไว้ ด้วย 2 วิธี ได้แก่ การแยกหน่อ และการผ่าเขี้ยว โดยมีวิธีการปลูก ดังนี้

1) เตรียมต้นแม่พันธุ์
– แยกหน่อ
– ผ่าเขี้ยว (ผ่าหัว)
2) มีดบางคมๆตัดหัวบอนสี/ผ่าหัวแม่พันธุ์บางส่วน
3) น้ำสะอาดล้างหัว ผ่าหัวบอน ขนาด 1 เซนติเมตร
4) ปูนแดง ทารอยแผลป้องกัน และรักษาโรคเชื้อรา
5) วางบนกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อตากพึ่งลมให้แห้ง
6) กล่องพลาสติกมีฝา หรือ กะละมัง ใส่วัสดุเพาะชำ ได้แก่ ทรายหยาบ ขุยมะพร้าว
7) รดน้ำพอชุ่มชื้น และวางเรียงหัวบอนที่ผ่า เขียนชื่อสายพันธุ์
8) ปิดฝา หรือ ใช้พลาสติกใส ปิดป้องกันการคายน้ำ (การควบแน่น)
9) ทิ้งไว้ 10 วัน สังเกตุการแตกรากและตาใหม่ เมื่อเกิดงอกสามารถนำปลูกลงกระถางได้ต่อไป

ทั้งนี้ การปลูกไม้ด่างบอนสี เป็นการทำเกษตรมูลค่าสูง โดยผู้ที่สนใจต้องศึกษาสายพันธุ์ ลักษณะประจำพันธุ์ และความนิยมของตลาด อาทิ เกล็ดแก้ว ชายชล บอนกระดาษด่าง ส่วนสายพันธุ์ไทยแท้ ก็มีความนิยมสูงเช่นกัน อาทิ นางไหม อิเหนา ไก่สุดสงวน เจ้ากรุงไกรเซอร์ นอกจากนี้ ราคายังขึ้นอยู่กับลายด่าง ยิ่งด่างมาก ราคาก็จะแพงมากเช่นกัน การเพาะพันธุ์ไม้ด่างจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจ และทำรายได้ดีให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย

โดย นายภัทรภูมิ รอดพงษ์

######

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น